แนวทางใหม่ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลในยุคดิจิทัล

personal data protection

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเราทุกคนมีความเสี่ยงที่จะถูกเข้าถึงและนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหากไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม

การรักษาความปลอดภัยออนไลน์ในปัจจุบันได้พัฒนาไปอย่างมาก มีแนวทางใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและไม่ซ้ำกัน การเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (Two-Factor Authentication) และการใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

นอกจากนี้ การระมัดระวังในการใช้งานอีเมลและสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นสิ่งสำคัญ การไม่ติดตั้งระบบ หรือ Application ต่างๆ ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากระบบ การไม่คลิกลิงก์แปลกปลอม หรือการไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่อ่อนไหวบนแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้

การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลในยุคดิจิทัลไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องอาศัยความรู้และการปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อให้เราสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น

สถานการณ์ปัจจุบันของการคุกคามทางไซเบอร์

ปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น เช่น การขโมยข้อมูลผ่านการดักจับ (Phishing), การโจมตีด้วยการเรียกค่าไถ่ผ่าน Ransomware, การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลผ่านเครือข่ายสาธารณะ หรือแม้กระทั่งการโจมตีจากภาครัฐหรือองค์กรที่มีความสามารถสูงซึ่งการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลสุขภาพ, พฤติกรรมการใช้บริการออนไลน์, หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการเงิน ทำให้ข้อมูลเหล่านี้กลายเป็นเป้าหมายที่สำคัญของแฮ็กเกอร์ ผู้ไม่หวังดี และมิจฉาชีพได้

แนวทางใหม่ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูล

1. การป้องกันและการปกป้องข้อมูลจากภายใน

ภาพจาก https://ccs.sut.ac.th
  • การใช้การยืนยันตัวตนสองชั้น (Two-factor Authentication – 2FA)

การใช้รหัสผ่านเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป การใช้ 2FA จะเพิ่มชั้นการป้องกันโดยการส่งรหัส OTP (One-time password) ไปยังอุปกรณ์หรืออีเมลของผู้ใช้งานเพื่อยืนยันตัวตน

  • การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)

การเข้ารหัสข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ถูกส่งผ่านเครือข่ายหรือข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลนั้นถูกขโมยหรือเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต

  • เทคโนโลยี Blockchain

Blockchain อาจจะเข้ามามีบทบาทในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลได้มากขึ้น เช่น การใช้ในการตรวจสอบและติดตามการทำธุรกรรมหรือการเก็บข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยสูง

2. การป้องกันและการปกป้องข้อมูลจากภายนอก

  • การควบคุมการเข้าถึง (Access Control)

ผู้ใช้งานควรมีการตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดขึ้น เช่น การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลตามบทบาท (Role-based access control – RBAC) เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

  • การอัปเดตซอฟต์แวร์และระบบ

ระบบที่ไม่ได้รับการอัrเดตมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกโจมตี เนื่องจากมีช่องโหว่ที่แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นการอัปเดตแพตช์ความปลอดภัยและการใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ

3. การให้ความรู้และการตระหนักถึงความปลอดภัย

  • การฝึกอบรมให้กับผู้ใช้

ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการระมัดระวังในการใช้บริการออนไลน์ เช่น การหลีกเลี่ยงการเปิดอีเมลจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือการหลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านที่ซ้ำกันในหลายๆ บัญชี

  • การใช้งานเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบความปลอดภัย ติดตั้งเครื่องมือหรือโปรแกรมเพิ่มเติม เช่น โปรแกรมตรวจสอบและแจ้งเตือนความปลอดภัยบนเว็บไซต์ที่เรากำลังใช้งาน

แนวทางกฎหมายและการกำกับดูแลจากหน่วยงานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

  • กฎหมายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR, PDPA): กฎหมายในหลายประเทศเริ่มมีบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เช่น GDPR ของยุโรป และ PDPA ในประเทศไทย การบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทและองค์กรมีความรับผิดชอบในการปกป้องข้อมูลลูกค้า
  • การส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดการข้อมูล: ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะรู้ว่าองค์กรเก็บข้อมูลอะไรจากพวกเขาและมีการใช้งานอย่างไร ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจในการใช้บริการต่างๆ
  • การตรวจจับการรั่วไหลของข้อมูล: การตรวจสอบการรั่วไหลของข้อมูลให้ได้เร็วที่สุดจะช่วยลดผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
  • การแจ้งเตือนผู้ใช้: หากเกิดเหตุการณ์การรั่วไหลของข้อมูล ควรมีการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทราบเพื่อให้พวกเขาสามารถทำการป้องกันได้ทันท่วงที เช่น การเปลี่ยนรหัสผ่านหรือการเฝ้าระวังกิจกรรมที่น่าสงสัย

การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลในชีวิตประจำวันไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องอาศัยความรู้และการปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง เช่น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของบัญชีโซเชียลมีเดียให้แชร์เฉพาะกับเพื่อนที่รู้จัก การหลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Wi-Fi สาธารณะ และการอัปเดตซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันเป็นประจำเพื่อป้องกันช่องโหว่ที่แฮ็กเกอร์อาจใช้โจมตี

ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกัน ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญมากขึ้น การรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใส่ใจมากขึ้น แนวทางใหม่ๆ เช่น การใช้ AI, Blockchain, การยืนยันตัวตนสองชั้น และการควบคุมการเข้าถึง สามารถช่วยให้การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา

ความปลอดภัยในโลกดิจิทัล

วิธีปกป้องข้อมูลส่วนตัว

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2025

ภาพจาก Freepik

    wpChatIcon