เทคโนโลยียืนยันตัวตนมีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันนี้ การซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การชำระเงินก็แสนง่ายดาย เพียงแค่เรามีบัญชีธนาคาร และสมัครใช้งานแอปพลิเคชันของธนาคารนั้นๆ เราก็จะสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  ซึ่งในการสมัครใช้งานแอปพลิเคชันนั้น จะมี 1 ขั้นตอนสำคัญก็คือ “การยืนยันตัวตน” ของผู้สมัครเข้าใช้งานว่าเป็นเจ้าของบัญชีตัวจริง

จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยียืนยันตัวตน (Identity Verification Technology) เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก และมีความสำคัญกับทุกๆ คนในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยียืนยันตัวตนเป็นเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของบุคคล ซึ่งสามารถนำมาใช้ในหลากหลายสถานการณ์ เช่น การเข้าสู่ระบบออนไลน์ การเปิดบัญชีใหม่ การทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ การรับบริการทางการแพทย์ออนไลน์ เป็นต้น  ซึ่งวิธีการยืนยันตัวตนนั้น มีหลากหลายวิธีการ ดังต่อไปนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชนและการตรวจสอบเอกสาร (ID Card and Document Verification)  

บัตรประชาชนและเอกสารยืนยันตัวตนอื่นๆ เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นวิธีการยืนยันตัวตนที่ง่ายและพบเห็นได้ทั่วไป

ยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชน
ภาพจาก Freepik

2. การใช้รหัสผ่าน (Password)  

User name และ Password เป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งานระบบต่างๆ  ผู้ใช้งานต้องลงทะเบียนข้อมูล User name – Password สำหรับเข้าสู่ระบบในครั้งแรก และใช้ข้อมูลนั้นล็อกอินเข้าใช้งานระบบในครั้งต่อไป

ยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่าน
ภาพจาก Freepik

3. การใช้ OTP (One-Time Password)

OTP คือรหัสผ่านที่ใช้เพียงครั้งเดียว ระบบจะส่งรหัสผ่าน OTP ทางช่องทางต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ เช่น SMS, Email, หรือแอปพลิเคชันพิเศษ เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้ในขณะนั้น

ยืนยันตัวตนด้วย OTP
ภาพจาก Freepik

4. การสแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint Scan)

เป็นวิธีการยืนยันตัวตนที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน การสแกนลายนิ้วมือเป็นวิธีการที่ปลอดภัย และสามารถมั่นใจได้ในการยืนยันตัวตน เนื่องจากลายนิ้วมือของแต่ละคนนั้นมีอัตลักษณ์บุคคล (Personal identity) แตกต่างกันไป โดยเครื่องสแกนจะตรวจสอบลายนิ้วมือของผู้ใช้ ว่าถูกต้องตรงกันกับที่ได้ลงทะเบียนไว้ในระบบหรือไม่

การสแกนลายนิ้วมือ
ภาพจาก Freepik

5. การจดจำใบหน้า (Facial Recognition)

เทคโนโลยีการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้ คือการจดจำโครงสร้างและอวัยวะบนใบหน้า จากนั้นจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของใบหน้า กับรูปถ่ายที่มีอยู่ในระบบ

การจดจำใบหน้า
ภาพจาก Freepik

6. ระบบการสแกนม่านตา (Iris Scanner)

ระบบสแกนม่านตาใช้กล้องและแสงอินฟราเรด (IR LED) ทำงานร่วมกัน โดยมีหลักการคือ ให้กล้องจะเก็บภาพจากแสงอินฟราเรดที่สะท้อนบนม่านตา เพื่อจดจำภาพม่านตาของผู้ใช้งานแต่ละคน การสแกนม่านตาถือว่าเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีไบโอเมตริกที่มีความปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับการสแกนลายนิ้วมือหรือการจดจำด้วยเสียง

การสแกนม่านตา
ภาพจาก Freepik

7. ระบบการจดจำด้วยเสียง (Voice Recognition Security System)

การจดจำเสียงของผู้ใช้งานถูกนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนในปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า Voice Authentication เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่าน Call Center แต่การใช้เสียงเพื่อยืนยันตัวตนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะเคยมีการทดลองให้ฝาแฝดคู่หนึ่งโทรเข้าไปขอรับบริการ โดยให้ฝาแฝดคนที่ไม่มีบัญชีเป็นคนพูด ปรากฏว่าสามารถยืนยันตัวตนด้วยเสียงผ่าน แม้จะไม่มีบัญชีของธนาคารก็ตาม ดังนั้น หากใช้ระบบยืนยันตัวตนด้วยเสียง ก็ควรขอข้อมูลอื่นประกอบด้วย เช่น PIN

การจดจำด้วยเสียง
ภาพจาก Freepik

8. ระบบการยืนยันตัวตนด้วยเส้นเลือดดำ (Palm Vein Pattern Authentication)

เป็นรูปแบบการยืนยันตัวตนที่อาศัยการสแกนเส้นเลือดดำบนฝ่ามือของผู้ใช้ วิธีนี้มีความแม่นยำสูงและปลอดภัย เพราะรูปแบบเส้นเลือดดำถือเป็นอัตลักษณ์ทางกายภาพที่ไม่สามารถลอกเลียนหรือปรับเปลี่ยนกันได้ง่ายๆ

นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านค่าลักษณะเส้นเลือดโดยตรง จึงช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสได้อีกด้วย

การยืนยันตัวตนด้วยเส้นเลือดดำ
ภาพจาก Freepik

  

9.  ระบบการระบุพิกัด (Geolocation) 

เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้จัดอยู่ในรูปแบบไบโอเมตริก แต่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการยืนยันตัวตนที่สร้างความสบายใจให้แก่ผู้บริโภค เพราะไม่ต้องใช้อัตลักษณ์ในการยืนยันตัวตน เพียงแค่ใช้วิธีระบุพิกัดของผู้ใช้งานแบบออนไลน์และเรียลไทม์ เพื่อใช้ยืนยันตัวตันและจดจำบุคคล

การระบุพิกัด
ภาพจาก Freepik

การเลือกใช้เทคโนโลยียืนยันตัวตนนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน และระดับความปลอดภัยที่ต้องการในแต่ละกรณี ซึ่งในโอกาสหน้าเราจะมาดูตัวอย่างการนำเทคโนโลยียืนยันตัวตนมาประยุกต์ใช้งานกันนะครับ

ที่มา: https://www.thansettakij.com/finance/458842

ภาพจาก freepik

    wpChatIcon