การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ AI ระดับโลก: ผลกระทบและทิศทางอนาคต

Global AI Regulation

ในปี 2025 กฎระเบียบเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั่วโลก ทั้งจากอิทธิพลของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี นโยบายของประเทศต่าง ๆ กำลังกำหนดอนาคตของ AI โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวทางพัฒนา AI ในอนาคต บทความนี้จะสำรวจปัจจัยสำคัญที่อาจกำหนดกฎระเบียบ AI ในระดับโลกและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ปัจจัยหลักที่อาจะทำให้กฎระเบียบ AI ระดับโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

อิทธิพลของมัสก์ต่อนโยบายของสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกายังไม่มีกฎหมายด้าน AI ของรัฐบาลกลางที่ครอบคลุม แต่มีกรอบการกำกับดูแลที่ผสมผสานกันทั้งในระดับรัฐและระดับท้องถิ่น โดยมีกฎหมายด้าน AI หลายฉบับถูกส่งไปที่ 45 รัฐ วอชิงตัน ดี.ซี. เปอร์โตริโก และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา

เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คาดว่าเขาจะแต่งตั้งอีลอน มัสก์ร่วมเป็นหัวหน้าแผนกประสิทธิภาพของรัฐบาล และจะเข้ามามีบทบาทต่อนโยบายเกี่ยวกับ AI และ Crypto Currency  จากเดิมที่ทรัมป์เคยกังวลว่า AI จะสร้างหายนะให้กับมนุษย์ เมื่อมัสก์ที่มีความรู้ด้าน AI เข้ามาร่วมทำงานน่าจะมีแนวทางป้องกันความเสี่ยงนี้ได้ดียิ่งขึ้น และสนับสนุนกฏหมายที่ส่งผลดีด้าน AI

พระราชบัญญัติด้าน AI ของสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปได้ออกพระราชบัญญัติ AI ฉบับแรกในปี 2020 เป็นกฏหมายควบคุมปัญญาประดิษฐ์โดยพิจารณาจากความเสี่ยง ถ้าความเสี่ยงสูงจะถูกกำกับดูแลมากขึ้น เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และระบบระบุข้อมูลชีวภาพทางไกล ซึ่งส่งผลกระทบกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นผู้คิดค้นและพัฒนา AI ที่ล้ำหน้าที่สุด สร้างความตึงเครียดให้กับบริษัทเหล่านี้ และอาจจะทำให้การสร้างสรรค์นวัตกรรมในยุโรปหยุดชะงัก

ในเดือนธันวาคม 2024  สหภาพยุโรปได้จัดตั้งสำนักงาน AI ขึ้นใหม่และออกประมวลกฏหมายฉบับที่สองสำหรับโมเดล AI ทั่วๆ ไป เช่น GPT ของ OpenAI มีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ครอบคลุมถึงแอปพลิเคชัน AI ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การระบุข้อมูลไบโอเมตริกซ์จากระยะไกล การตัดสินใจกู้ยืมเงิน และการให้คะแนนการศึกษา

ด้านผู้นำเทคโนโลยีของยุโรปกังวลว่ามาตรการลงโทษของสหภาพยุโรปต่อบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ อาจจะยั่วยุทรัมป์ให้ออกมาตรการตอบโต้สหภาพยุโรปได้ และทำให้สหภาพยุโรปต้องผ่อนปรนมาตรการมากกว่านี้ เช่น กฏหมายต่อต้านการผูกขาดจากยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ

การตรวจสอบลิขสิทธิ์ในสหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักรอังกฤษกังวลว่ากฏหมายใหม่ของสหภาพยุโรปจะเข้มงวดเกินไป รัฐบาลของ Keir Starmer จึงมีแผนจะร่างกฏหมายเกี่ยวกับ AI สำหรับผู้สร้างโมเดล AI โดยจะยึดตามหลักการมากขึ้นแทนที่จะใช้กรอบการทำงานที่ยึดตามความเสี่ยงของสหภาพยุโรป และเริ่มวางแผนมาตรการเพื่อควบคุมการใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์มาเทรนโมเดล AI ของบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีความโปร่งใส เข้าถึงได้ และนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยรัฐบาลอังกฏษจะยกเว้นกฏหมายลิขสิทธิ์สำหรับการเทรนโมเดล AI แต่ยังคงอนุญาตให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถเลือกไม่ให้นำผลงานของตนไปใช้ในการเทรนได้

ความสัมพันธ์ที่อาจถึงจุดตึงเครียดของสหรัฐฯ-จีน

ขณะที่ทั่วโลกพยายามควบคุมระบบ AI กลับยังมีความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน สืบเนื่องจากนโยบายที่เข้มงวดกับจีนของทรัมป์โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ อาจส่งผลกระทบด้าน AI เช่น ทั้งสองฝ่ายอาจจะพัฒนา AI ที่ฉลาดกว่ามนุษย์ และไม่ต้องการการควบคุมจากมนุษย์ซึ่งอาจมีความเสี่ยงกับมนุษย์ได้ ดังนั้นทั้งสองประเทศนี้จะต้องออกมาตรการควบคุมความปลอดภัยด้าน AI ขี้นเองไม่ให้สร้าง AI ที่ควบคุมไม่ได้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับมนุษยชาติ

ปี 2025 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของกฎระเบียบ AI ระดับโลก โดยสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มปรับเปลี่ยนนโยบายภายใต้อิทธิพลของอีลอน มัสก์ ขณะที่สหภาพยุโรปกำลังใช้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น ส่วนสหราชอาณาจักรพยายามสร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนอาจทำให้การแข่งขันด้าน AI ร้อนแรงขึ้น แม้ว่าการควบคุม AI จะมีความสำคัญ แต่ความร่วมมือระดับนานาชาติก็เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตที่ปลอดภัยและยั่งยืนสำหรับเทคโนโลยี AI

ที่มา: CNBC

    wpChatIcon