ปัจจุบันการทำ Visualization หรือทำให้มองเห็นการปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วยโซลูชัน IoT กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว เนื่องด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี IoT ดังนั้นประเด็นสำคัญที่แต่ละองค์กรต้องตั้งคำถามต่อคือเราควรทำอะไรในขั้นตอนต่อไป คำตอบก็คือ คุณต้องเริ่มจากการมองเห็นปัญหาก่อน จากนั้นต้องระบุปัญหาที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ แล้วจึงเชื่อมโยงไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือการหาวิธีปรับปรุงแก้ไข แต่พอถึงขั้นตอนสุดท้ายนี้เชื่อว่าหลายๆ องค์กรก็ไม่สามารถไปต่อได้
มองให้เห็นปัญหา
ก้าวแรกของการทำ Visualization คือการเก็บรวบรวมข้อมูลหน้างาน และทำความเข้าใจสถานะการทำงานแบบเรียลไทม์ ในขั้นตอนนี้สามารถใช้อุปกรณ์ IoT มาติดตามสถานะการทำงานของเครื่องจักรและข้อมูลการผลิต รวมถึงตรวจจับความผิดปกติหรือปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่เก็บข้อมูลแล้ว แต่ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ก้าวไปสู่ขั้นตอนถัดไปไม่ได้
ระบุปัญหาที่ซ่อนอยู่และทำ Kaizen
ขั้นตอนถัดมาคือการระบุปัญหาที่ซ่อนอยู่จากข้อมูลที่ทำ Visualization และหาวิธีการปรับปรุงหรือทำ Kaizen ในขั้นตอนนี้สิ่งสำคัญคือ “Jidoka” หรือการควบคุมโดยอัตโนมัติ ซึ่ง Jidoka ในที่นี้ไม่เพียงหมายถึงการทำงานของเครื่องจักรหรือระบบโดยอัตโนมัติเท่านั้น แต่ยังหมายถึงโครงสร้างที่คนสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องในสถานการณ์ที่จำเป็นได้ เพราะก่อนที่จะมุ่งไปสู่การควบคุมโดยอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ ต้องให้คนเข้ามาช่วยในสถานการณ์ที่จำเป็น เช่น ทำความเข้าใจปัญหาปัจจุบันอย่างถูกต้อง เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหาที่แท้จริง
ใช้ D-QiTs สร้างวัฒนธรรมการทำ Kaizen อย่างยั่งยืน
D-QiTs (Dx Quick Kaizen Tools) คือแอปพลิเคชัน IoT Kaizen ประกอบด้วยอุปกรณ์ IoT ได้แก่ IoT Data server, IoT Data share และ Data viewer พัฒนาโดยบริษัท Denso ช่วยให้องค์กรของคุณมองเห็นปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหา รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการทำงานด้วยวิธีการ Kaizen อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
D-QiTs ช่วยให้มองเห็น 3 ข้อมูลสำคัญเพื่อการทำ Kaizen ได้แก่
1. Output

ระบบเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตและนำมาแสดงผลบนแดชบอร์ด ทำให้ตรวจจับความผิดปกติได้ทันที และยังเห็นการเปรียบเทียบระหว่าง Plan และ Actual รวมทั้ง Gap ที่เกิดขึ้นได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ หากคุณต้องการให้ระบบแสดงผลข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม บริษัทไอโคเน็กซ์ก็มีบริการพัฒนาแดชบอร์ดให้คุณเช่นกัน
2. Cycle Time
แสดงกราฟ Cycle Time ของแต่ละสายการผลิต และระบุได้ว่าจุดใดเกิดความผิดปกติ จึงนำไปวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาคอขวดได้


3. Video
มีการบันทึกภาพที่หน้างานด้วยกล้องอยู่ตลอดเวลา เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น จึงสามารถตรวจสอบจากภาพที่บันทึกความเคลื่อนไหวหน้างานได้ นำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด

บริการวิเคราะห์ OEE และ Loss ที่เกิดขึ้นในการทำงาน
โครงสร้างของ D-QiTs นอกจากจะประกอบด้วยอุปกรณ์ IoT แล้ว เรายังมีบริการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทเดนโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียซึ่งมีผลงานหลากหลายในประเทศไทย โดยทีมงานจะนำข้อมูลการทำงานของเครื่องจักรมาคำนวณ OEE (ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร) และค้นหา Loss หรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการผลิต แล้วให้คำแนะนำในการทำ Kaizen เพื่อรองรับการก้าวไปสู่ระบบการผลิตแบบ Lean และการควบคุมการผลิตให้เป็นอัตโนมัติในท้ายที่สุด

ดาวน์โหลดเอกสารแนะนำ D-QiTs Kaizen IoT
บริษัทไอโคเน็กซ์ช่วยสนับสนุนให้คุณนำ IoT Data Share มาทำ Visualization และต่อยอดไปยังการทำ Kaizen รวมถึงการผลิตแบบลีนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เรายังมีบริการด้านไอทีและให้คำปรึกษาด้านระบบอีกด้วย สนใจโซลูชัน D-QiTs Kaizen IoT สามารถติดต่อเราได้ที่ thaisales@iconext.co.th หรือคลิก Inquiry Form
ภาพจาก Freepik