ปัจจุบันการทำธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มของธุรกิจเอง เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งการสร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันก็มีทางเลือกหลากหลาย เช่น จ้างบริษัทพัฒนาเว็บไซต์ภายนอก หรือให้ทีมไอทีภายในองค์กรพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันขึ้นมาเอง สำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาระบบขึ้นมาเอง Low-code และ No-code platform ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ออกแบบและพัฒนาระบบขึ้นมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ข้อมูลจาก Gartner คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2024 การพัฒนาแอปพลิเคชันจะเปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มแบบ Low-code กันมากกว่า 65% ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นแอปพลิเคชันที่ใช้ Low-code หรือ No-code ในการพัฒนามากขึ้น
Low-code และ No-code Platforms คืออะไร
Low-code Development Platforms
คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันที่ยังต้องใช้ทักษะการเขียนโค้ดและการออกแบบ User Interface (UI) แต่การใช้ low-code platform จะช่วยให้ออกแบบแอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้วิธี drag and drop ในการจัดวางตำแหน่งต่างๆ บนแอปพลิเคชัน เหมาะสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีทักษะพื้นฐานในการเขียนโค้ดอยู่แล้ว เพราะจะช่วยให้สร้างแอปพลิเคชันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ตัวอย่างแพลตฟอร์มแบบ low-code เช่น OutSystems, , Mendix, Power Apps, Salesforce
No-code Development Platforms
คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการเขียนโค้ดใดๆ เพียงแค่คลิก ลากและจัดวางตามที่ต้องการก็สามารถปรับแต่ง Layout หรือ User Interface ได้ง่ายๆ เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้ในการพัฒนาระบบแต่ต้องการสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันไว้ใช้งานเอง
ตัวอย่างแพลตฟอร์มแบบ no-code เช่น AppSheet, WordPress
ลักษณะของซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้แพลตฟอร์มแบบ Low-code หรือ No-code ในการพัฒนาได้ เช่น
- การสร้างเว็บไซต์
- การสร้างแอปพลิเคชัน
- การส่งอีเมลแจ้งเตือนอัตโนมัติ
- การตอบแชทอัตโนมัติ
ข้อดีของ Low code และ No code
1) พัฒนาแพลตฟอร์มทางธุรกิจได้ง่าย
ไม่ต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นสูงก็สามารถพัฒนาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ ลดเวลาในการเขียนโค้ดจึงทำให้ได้แพลตฟอร์มที่ต้องการมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
2) รองรับความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น
หลายๆ ธุรกิจจำเป็นต้องรับมือกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป หากแพลตฟอร์มหลักที่ใช้ติดต่อกับลูกค้ามีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไข และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ได้เร็ว ก็จะช่วยให้รักษาฐานลูกค้าไว้ได้ และยังสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
3) แต่ละส่วนงานในองค์กรสามารถพัฒนาระบบร่วมกันได้
การพัฒนาแพลตฟอร์มขององค์กร จะไม่เป็นแค่งานของแผนกไอทีเท่านั้น ส่วนงานอื่นๆ เช่น นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ นักการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายซัพพอร์ตลูกค้า ก็มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาระบบได้ เพราะสามารถใช้ low-code และ no-code platform ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม
บทสรุป
Low-code และ No-code Development Platforms เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างแพลตฟอร์มไว้ใช้งานอย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนได้ง่าย เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการสะดวก และนำมาซึ่งความพึงพอใจของลูกค้า
หากองค์กรของคุณกำลังมองหาระบบไอที แพลตฟอร์มสำหรับให้บริการลูกค้า หรือซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในองค์กรที่พัฒนาด้วย Low-code platform สามารถติดต่อสอบถามบริษัทไอโคเน็กซ์ได้ที่ thaisales@iconext.co.th
ที่มา
https://digi.data.go.th/blog/what-is-digital-transformation/
https://www.pttdigitalconnect.com/article/ptt-digital-low-code-no-code
ภาพจาก Freepik