ตัวอย่างการใช้งาน RPA สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตและโรงงานที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ

Samples of RPA in manufacturing

อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยกำลังเตรียมตัวก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 นั่นคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อทำให้กระบวนการต่างๆ เป็นอัตโนมัติ หลายๆ โรงงานเริ่มนำเทคโนโลยี Robotic Process Automation (RPA) หรือซอฟต์แวร์หุ่นยนต์มาช่วยทำงานที่มีรูปแบบซ้ำๆ แทนคนกันแล้ว วันนี้บริษัทไอโคเน็กซ์จึงมีตัวอย่างการนำ RPA ไปใช้ในกระบวนการผลิตมาแนะนำ

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย RPA

1. เตรียมข้อมูลเพื่อสร้างแผนการผลิต

เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตสามารถนำ RPA มาช่วยดึงข้อมูลจากระบบการขายและระบบจัดการคลังสินค้าให้อัตโนมัติ จากนั้นจึงป้อนแผนการผลิตประจำวันและมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต เมื่อสร้างแผนการผลิตเรียบร้อยแล้วก็ให้ RPA ส่งข้อมูลเป็นอีเมลไปให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้อัตโนมัติ ช่วยลดเวลาการดึงข้อมูลและการส่งอีเมล นอกจากนี้ยังมั่นใจได้ว่าระบบสามารถประมวลผลข้อมูลมาได้อย่างถูกต้อง

RPA in production plan

2. จัดการ Bill of Materials (BOM)

RPA in BOM management

BOM หรือรายการส่วนประกอบในการผลิตสินค้าเป็นข้อมูลที่สำคัญมาก เพราะถ้าจัดการข้อมูล BOM ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งผลต่อกระบวนการผลิตได้ โดยเฉพาะเมื่อพนักงานต้องป้อนข้อมูลรายการส่วนประกอบจำนวนมากลงในระบบเอง อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้

การนำ RPA มาใช้จัดการ BOM ให้เป็นอัตโนมัติจะช่วยให้พนักงานสร้างข้อมูลรายการส่วนประกอบได้แม่นยำยิ่งขึ้น ป้องกันไม่ให้สั่งซื้อส่วนประกอบที่ไม่ถูกต้องและผลิตสินค้าได้ตามแผนที่วางไว้

3. จัดการคำสั่งซื้อ

RPA auto process

RPA ช่วยดาวน์โหลดข้อมูลใบสั่งซื้อจากอีเมล แล้วคัดลอกรายละเอียดไปใส่ในระบบสั่งซื้อได้ ดังนั้นแทนที่พนักงานจะต้องเปิดใบสั่งซื้อจากอีเมลที่ส่งมาจากคู่ค้าแล้วนำมาป้อนลงในระบบเอง ก็สามารถใช้ RPA มาช่วยป้อนข้อมูลให้อัตโนมัติได้ ทำให้ลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลของพนักงาน และให้พนักงานไปทำงานอื่นที่หุ่นยนต์ไม่สามารถจัดการได้

4. ควบคุมคุณภาพ

ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพสินค้า สามารถนำ RPA มาช่วยงานได้เช่นกัน เพราะปกติเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพสินค้าจะตรวจสอบและบันทึกผลลงในแบบฟอร์มกระดาษ หลังจากนั้นจึงนำไปป้อนลงในระบบ แต่ถ้าใช้ RPA ร่วมกับ AI-OCR ก็จะช่วยแปลงผลที่บันทึกลงบนกระดาษให้อยู่ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และนำเข้าระบบได้อันโนมัติ ช่วยลดปัญหาการป้อนข้อมูลผิดพลาดและลดเวลาในการทำงาน

RPA in quality management

5. จัดการสินค้าคงคลัง

RPA in inventory management

RPA ช่วยคำนวณและอัปเดตจำนวนสินค้าคงคลังได้อัตโนมัติโดยดึงข้อมูลจากใบส่งมอบสินค้าทางอีเมล ทำให้พนักงานรู้จำนวนสินค้าคงเหลือในคลังได้แบบเรียลไทม์ และสั่งสินค้าหรือวัตถุดิบได้ทันกับกระบวนการผลิต จึงป้องกันปัญหาการจัดส่งล่าช้าได้

6. จัดทำรายงาน

การรวบรวมข้อมูลเพื่อทำรายงานประจำวันและรายงานประจำเดือนส่งให้ผู้บริหาร สามารถนำ RPA มาช่วยสร้างรายงานให้อัตโนมัติได้ พนักงานจึงไม่ต้องเสียเวลารวบรวมข้อมูล ป้อนข้อมูล และทำการคำนวณต่างๆ ด้วยตัวเอง เพียงแค่ตรวจสอบข้อมูลในขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งผู้บริหารเท่านั้น

RPA report creation

บริษัทไอโคเน็กซ์มีทีมงาน RPA ที่สามารถพัฒนาระบบได้ตามความต้องการของลูกค้า เพื่อให้คุณได้นำ RPA มาช่วยทำให้กระบวนการทำงานเป็นอัตโนมัติมากขึ้นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิต สนใจปรึกษาเกี่ยวกับการนำ RPA มาใช้ในโรงงานของคุณ ติดต่อเราได้ที่ thaisales@iconext.co.th หรือคลิกแบบฟอร์มสอบถามข้อมูล

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มประสิทธิภาพงานบัญชีด้วยเทคโนโลยี RPA

ทำไม RPA จึงมีความสำคัญต่อองค์กรในยุคดิจิทัล

    wpChatIcon