Digital Immune System (DIS) หรือ ระบบภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล คือ AI และ Machine Learning ที่ถูกออกแบบให้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ โดยอ้างอิงหลักการทำงานของ “ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย” ช่วยให้ระบบและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อมูลและสัญญาณทางดิจิทัลที่ผ่านเข้าออกระบบ
Joachim Herschmann ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ระบบจาก Gartner ระบุว่า “การเฝ้าระวังทางไซเบอร์แบบรอรับมือกับปัญหาทางเทคนิคนั้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ผู้ดูแลระบบอาจตอบสนองหรือแก้ปัญหาได้ไม่รวดเร็วพอ จึงมีความเสี่ยงอย่างมากต่อธุรกิจ”
การใช้ Digital Immune System เป็นกลไกเฝ้าระวังทางไซเบอร์ ช่วยป้องกันปัญหาทางเทคนิคได้ โดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ จึงเป็นทางออกที่ดีในการจัดการบริหารความเสี่ยงในโลกไซเบอร์
Digital Immune System มี 6 องค์ประกอบหลัก คือ
- Observability
คือความสามารถในการมองเห็นข้อมูลที่จำเป็นภายในซอฟต์แวร์หรือระบบต่าง ๆ
เพื่อตรวจสอบติดตามสถานะต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
2. AI-Augmented Testing
คือการทดสอบซอฟต์แวร์อย่างเป็นอิสระจากการแทรกแซงของมนุษย์ เป็นการทดสอบแบบอัตโนมัติที่สามารถวางแผน สร้าง ปรับปรุง และวิเคราะห์ผลการทดสอบได้ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเสริมการทดสอบแบบดั้งเดิม (Manual Testing)
3. Chaos Engineering
คือการทดสอบอย่างหนักเพื่อค้นหาช่องโหว่และจุดอ่อนที่มีในระบบ มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบจะมีความยืดหยุ่นเพียงพอก่อนจะนำไปใช้งานจริง
4. Autoremediation
คือความสามารถในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาภายในแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้กลับมาทำงานตามปกติได้อย่างอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องมีพนักงานมาดูแลแต่อย่างใด
5. Site Reliability Engineering
คือแนวทางปฏิบัติที่นำมาใช้ในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานไอที (IT Infrastructure) ซึ่งต้องมีความสมดุลกันในเรื่องความเร็ว ความเสถียร และความเสี่ยง เพื่อยกระดับการให้บริการ และปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
6. Apps Supply Chain Security
คือการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั่วทั้ง Supply Chain ของซอฟต์แวร์ โดยทั้งห่วงโซ่จะต้องมีความโปร่งใส มั่นคงปลอดภัย และสามารถตรวจสอบได้
บทสรุป
การเลือกใช้เทคโนโลยีทดสอบก่อนลงมือใช้งานจริง เปรียบเสมือนการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้เกิดความเสี่ยงกับระบบน้อยที่สุด เช่น กรณี American Airline ที่ก่อนจะเริ่มสร้างระบบ ก็ใช้เทคโนโลยี AR เข้ามาช่วยจำลอง User Journey ต่างๆ เพื่อทำให้ธุรกิจมองเห็นพฤติกรรมของลูกค้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้า จึงช่วยลดความเสี่ยง และทำให้เกิด User Experience ที่ดีกับลูกค้า
นอกจากนี้หากเรามี Digital Immune System ที่ดี เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในระบบขึ้น ก็จะช่วยให้แอปพลิเคชันหรือการให้บริการทางธุรกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจของเราไปต่อได้อย่างราบรื่น
ที่มา: