เหตุผลที่หลายองค์กรเปลี่ยนมาใช้ Low-Code Platform

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แรงงานในอุตสาหกรรม IT เป็นที่ต้องการมากขึ้นในตลาด ส่วนหนึ่งมาจากการเกิด COVID-19 ที่ทำให้ทุกองค์กรต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากเดิมที่ต้องทำงานแบบในที่ทำงานเท่านั้น กลายมาเป็นการทำงานจากบ้านแทน หรือที่เรียกว่า Work from Home ซึ่งหลายองค์กรก็ต้องตระเตรียม Environment และเทคโนโลยีต่างๆ ให้รองรับการทำงานแบบใหม่นี้ให้ได้รวดเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ธุรกิจต้องสะดุด จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ Low-code platform เป็นอีกทางเลือกที่ผู้บริหารหลายองค์กรเริ่มนำมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ

Low-code platform คือ แพลตฟอร์มที่ช่วยในการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยการเขียนโค้ดให้น้อยที่สุด แต่ได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มแบบ Low-code หลายตัวที่เป็นที่นิยม ไม่ว่าจะเป็น OutSystems, Mendix, Microsoft PowerApps หรือ Google App Maker ซึ่งลักษณะที่สำคัญของแพลตฟอร์มเหล่านี้คือ ออกแบบมาให้นักพัฒนาลดขั้นตอนในการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยอาศัยการสร้างชุดคำสั่งเป็น Flow ด้วยการ Drag & Drop หรือที่เรียกว่า Visual Development

ข้อดีของ Low-code platform

  1. มีความรวดเร็วในการพัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจาก Low-code เป็น platform ที่ใช้วิธีการ Drag & Drop เสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลา Coding การพัฒนาซอฟต์แวร์จึงได้ทำรวดเร็วเมื่อเทียบกับการพัฒนาแบบ  High-code
  2. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแค่นักพัฒนาระบบแบบ High-code ที่มีประสบการณ์มาก
  3. มีความคล่องตัวในการพัฒนาระบบ เนื่องจากนักพัฒนาไม่ต้องยึดติดกับภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น เพียงแค่ใช้ความสามารถของ platform ก็พัฒนาแอปพลิเคชันได้หลากหลาย รองรับความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้รวดเร็วกว่าการพัฒนาระบบแบบเดิม
  4. ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เนื่องจากธุรกิจปัจจุบันต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดให้ได้อย่างรวดเร็วจึงจะอยู่รอด หลายองค์กรจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่ digital transformation ซึ่ง Low-code สนับสนุนการยกระดับองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างราบรื่น
  5. รองรับการแก้ไขและปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ได้รวดเร็ว หากมีความต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมฟังก์ชันใดๆ ในซอฟต์แวร์ ผู้ใช้งานที่ไม่ใช่แผนก IT ก็สามารถทำได้ เพราะ Low-code มีโครงสร้างแบบ Flow chart ที่รองรับการปรับเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย
  6. เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการสร้างซอฟต์แวร์ เพราะ Low-code เรียนรู้ง่ายกว่า High-code ทำให้พนักงานทุกคนในองค์กรสามารถสร้างแอปพลิชันที่ไม่ซับซ้อนเองได้

ตัวอย่าง Low-code platform ที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมในหลายๆ องค์กรคือ OutSystems จากรายงานการวิจัยทางการตลาดของ Gartner ระบุให้ OutSystems  จัดอยู่ในกลุ่มผู้นำด้าน Low-code platform ต่อเนื่องกันมาหลายปี

ในประเทศไทยการพัฒนาระบบแบบ Low-code เริ่มเข้ามามีบทบาทในหลายองค์กร ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุของการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลทางด้าน IT ความต้องการสร้างซอฟตฺแวร์ให้รวดเร็วขึ้น หรือเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงด้าน requirement ของลูกค้าในระยะเวลาอันสั้น จึงทำให้ Low-code platform เป็นอีกทางเลือกและเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการทำ digital transformation

บริษัทไอโคเน็กซ์มีทีมนักพัฒนาระบบที่มีความรู้ในการใช้ Low-code platform พัฒนาซอฟต์แวร์ให้ลูกค้า หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ thaisales@iconext.co.th

    wpChatIcon